ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
สมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Core Competencies of the Educational Personnel in the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1
ผู้จัดทำ
นิตติญา ศิริจันทพันธ์ รหัส 56426423116 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
ดร.ปูริดา วิปัชชา, รองศาสตราจารย์ ดร.ชนินทร์ วะสีนนท์
บทคัดย่อ

จากการศึกษาวิจัย เรื่อง สมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1  มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับปฏิบัติตามสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษา อยู่ในระดับใด  แตกต่างตามคุณลักษณะส่วนบุคคลหรือไม่ และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษาเป็นอย่างไร  ผู้ให้ข้อมูลเป็นบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  มีค่าความเชื่อมั่น 0.96  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล  คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า

1.  บุคลากรทางการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1  ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง  มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ปฏิบัติงานในกลุ่มอำนวยการ มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานระหว่าง 10-20 ปี  มีความคิดเห็น โดยภาพรวมและรายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน 

2.  การเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาสมรรถนะหลักเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ที่มีเพศ อายุ กลุ่มงาน ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน สรุปได้ดังนี้

2.1  จำแนกตามเพศ  โดยภาพรวมบุคลากรทางการศึกษามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกัน

2.2  จำแนกตามอายุ พบว่า บุคลากรทางการศึกษาที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ด้าน คือ 1) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์  และ 2) ด้านการทำงานเป็นทีม

2.3  จำแนกตามกลุ่มงาน พบว่า บุคลากรทางการศึกษาที่มีกลุ่มงานต่างกันมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ด้าน คือ  1) ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ และ 2) ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม

2.4  จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า บุคลากรทางการศึกษาที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ด้าน คือ 1) ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ และ 2) ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม

2.5  จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า บุคลากรทางการศึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำงานที่ต่างกันมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3.  ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษา มี 3 ด้าน คือ 1) ควรคงโครงการหรือกิจกรรม ในด้านการพัฒนาบุคลากรหรือด้านอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 2) ควรจัดทำแนวปฏิบัติในการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษาในด้านการวิจัย 3) ควรนำแนวปฏิบัติดังกล่าวเป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดหลักสูตรสำหรับพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรทางการศึกษาทุกด้าน

Abstract

The study entitled “Core Competencies of the Educational Personnel in the  Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1” aimed to investigate the core competency levels of  the educational personnel. The investigation was also  conducted of find out whether these core competencies varied according to each  individual personnel’s qualities and what would be the guidelines for developing the educational personnel’s core competencies in performing their jobs. The informants were 103 educational personnel under the jurisdiction of the Office of SakonNakhon Primary Education Service Area 1. The instrument used to collection was the questionnaire with its reliability of 0.96. constructed by  the researcher.The statistics employed for data analysis included percentage, mean and standard deviation and One-way ANOVA.

The study unveiled these results.

1. Most of the educational personnel in the Office of SakonNakhon Primary Education Service Area 1 were 41 to 50 year-old females functioning their duties in the Administration Department. They carried their Bachelor’s Degrees and had served  in the government offices for 10-20 years. Their opinions, as a whole and on each aspect, were at the moderate levels.

2. When comparing the opinions of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 Office’s educational whose genders, ages, jobs, educational levels and experiences differed, these findings were obtained :

2.1 Gender : As a whole, it was found that the educational personnel whose genders varied had statistically different opinions at .05 level of significance. However, considering on each aspect, their opinions did not differed.

2.2 Age : It was found that the educational personnel whose ages varied, had statistically different opinions at .05 level  of significance on 2 aspects 1) the achievement motivation, and 2) team work

2.3 Job Category : It was found that the educational personnel whose categories of their duties and job varied had statistically different opinions at .05 level of significance on 2 aspects 1X the accumulations of professional expertise, and 2) the adhering to integrity and ethics.

2.4 Educational  Level : It was found that the educational personnel whose educational levels varied had statistically different opinions at .05 level of significance on 2 aspects 1) the accumulations of professional expertise, and 2) the adhering to integrity and ethics.

2.5 Professional Experience : It was found that the educational personnel whose professional experiences varied had statistically different opinions at .05 level of significance on every aspect.

3. Three guidelines for developing the educational personnel’s core competencies in performing their jobs were given : 1) the projects and activities for developing the personnel should be maintained and continuously launched, 2) there  should be guidelines for research on developing the educational personnel’s core  competencies, 3) such guidelines should be regarded as basic information and they should be used to set up the training courses  for developing the overall aspects of the educational personnel’s core competencies.

คำสำคัญ
สมรรถนะของบุคลากรทางการศึกษา, คุณลักษณะส่วนบุคคล
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
วันที่นำเข้าข้อมูล
20 ธันวาคม 2560 - 10:33:29
View 578 ครั้ง


^