สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก และ 2) ประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในโรงเรียนขนาดเล็กที่พัฒนาขึ้นในด้านความรู้ ทักษะการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นและความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม มี 4 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 2 สำรวจความต้องการอบรมด้านการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ประเด็นที่ควรมีในหลักสูตรฝึกอบรม และขั้นที่ 4 สร้างหลักสูตรฝึกอบรม ระยะที่ 2 การประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตร โดยนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้ององค์ประกอบของหลักสูตร หลังจากนั้นนำหลักสูตรไปทดลองใช้กับครูในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster sampling) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินทักษะและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบที (t-test for dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลักสูตรฝึกอบรมครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) ความเป็นมา หลักการและความสำคัญ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กิจกรรมการฝึกอบรม และ 5) การวัดและประเมินผล และเนื้อหาหลักสูตร 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น 2) การบริหารจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น 3) การจัดชั้นเรียนในห้องเรียนแบบคละชั้น และ 4) การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น
2. ผลจากการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่า 1) ครูที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ครูที่เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในโรงเรียนขนาดเล็กอยู่ในระดับมากและ 3) ครูที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรม อยู่ในระดับมาก
The objectives of this study were to 1) develop a teacher training curriculum for multigrade instructional management in small-sized schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 and 2) assess the efficiency of the developed training curriculum in knowledge, multigrade instructional management skill and satisfaction towards the developed training curriculum. The study was divided into 2 phases. The first phase was the training curriculum development which was conducted in 4 steps namely 1) studying relevant documents, concepts, theories and researches; 2) surveying the needs for training in multigrade instructional management in small-sized schools, which was experimented with 166 small-sized school teachers under Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 1 in academic year B.E. 2561 (2018); 3) analyzing the issues necessary for the curriculum and 4) building the training curriculum. The second phase was the assessment of the developed training curriculum by 5 experts on its appropriateness and congruence between its contents. The assessed training curriculum was experimented with 36 small-sized school teachers under Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 1 in academic year B.E. 2561 (2018), selected with cluster sampling. Data was collected by using knowledge test, skill evaluation form and satisfaction survey form. Statistics in data analysis were percentage, mean, standard deviation (S.D.) and t-test for dependent samples.
The study yields the following results.
1. The developed teacher training curriculum for multigrade instructional management in small-sized schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office comprised 5 components namely 1) background, principles and significance, 2) objectives, 3) contents, 4) training activities, and 5) measurement and evaluation. The content comprised 4 aspects namely 1) fundamental knowledge 2) learning management 3) classroom management and 4) learning assessment.
2) The training curriculum experimented results were 1) Participating teachers gained higher knowledge and understanding on multi-grade instructional management after training than before training with the 0.1 level of statistical significance, 2) participated teachers gained higher multigrade instructional management skill in small-sized schools at a high level, 3) The satisfaction of participating teachers towards the developed training curriculum was at a high level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 83.91 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 430.96 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 35.82 KB |
4 | บทคัดย่อ | 79.68 KB |
5 | สารบัญ | 98.23 KB |
6 | บทที่ 1 | 152.05 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,964.99 KB |
8 | บทที่ 3 | 195.75 KB |
9 | บทที่ 4 | 266.37 KB |
10 | บทที่ 5 | 119.55 KB |
11 | บรรณานุกรม | 126.03 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 74.48 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 61.26 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 7,439.49 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 239.38 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 292.43 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 190.56 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 129.75 KB |
19 | ภาคผนวก ซ | 2,294.43 KB |
20 | ภาคผนวก ฌ | 539.59 KB |
21 | ภาคผนวก ญ | 714.52 KB |
22 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 42.64 KB |