ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาภาวะผู้นำครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : กรณีโรงเรียนอนุบาลคำชะอี
A Development of Teacher Leadership for Learning Management in the 21st Century: A Case of
ผู้จัดทำ
ประภาดา คนคล่อง รหัส 57520248101 ระดับ ป.เอก ภาคปกติ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ไพไหล, ดร.สุรัตน์ ดวงชาทม
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 2) ศึกษาปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 4) ศึกษาผลการพัฒนาภาวะผู้นำครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย  ผู้วิจัย 1 คน ผู้ร่วมวิจัย เป็นครูและบุคลากร จำนวน 28 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน 4 คนตัวแทนนักเรียน 14 คนและตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน  23 คนรวมทั้งสิ้น 70 คน ดำเนินการวิจัยแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมดำเนินการวิจัย 2 วงรอบ 4 ขั้นตอนได้แก่  ขั้นที่ 1 วินิจฉัย  ขั้นที่ 2 ดำเนินการ ขั้นที่ 3 วัดผล ขั้นที่ 4 สะท้อนผล 

ผลการวิจัย พบว่า

1. องค์ประกอบของภาวะผู้นำครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนอนุบาลคำชะอีมี 7 องค์ประกอบ 21 ตัวบ่งชี้คือ 1) การมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2) การพัฒนาตนเองและเพื่อนร่วมงาน 3) การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด4)การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง 5) การใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ 6) การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และ 7) การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 

2. ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลคำชะอีมีดังต่อไปนี้                   

2.1 ปัญหาประกอบด้วย 1) ครูขาดการพัฒนาให้เท่าทันโลกและการเปลี่ยนแปลงe 2) ครูขาดการประสานการทำงานร่วมกัน 3) ครูขาดการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย  4) ครูขาดการส่งเสริมทักษะการคิด 5) ครูขาดการวิจัยเพื่อแก้ปัญหา

ในชั้นเรียน 6) ครูไม่ใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ และ 7) ครูขาดการพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

2.2 ความต้องการจำเป็น เรียงลำดับได้ดังนี้ 1) การมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2) การพัฒนาตนเองและเพื่อนร่วมงาน 3) การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด 4) การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง 5) การใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ 6) การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและ 7) การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

3. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลคำชะอี ดำเนินการ 7 โครงการ ดังต่อไปนี้ 1) โครงการพัฒนาภาวะผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย 2 กิจกรรม 2) โครงการพัฒนาตนเองและเพื่อนร่วมงานประกอบด้วย 2 กิจกรรม 3) โครงการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดประกอบด้วย 3 กิจกรรม 4) โครงการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง ประกอบด้วย 2 กิจกรรม 5) โครงการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้  ประกอบด้วย 2 กิจกรรม 6) โครงการพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารประกอบด้วย 2 กิจกรรม และ 7) โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้  ประกอบด้วย 2 กิจกรรม 

4. ผลการพัฒนาภาวะผู้นำครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลคำชะอี พบว่าครูมีภาวะผู้นำระดับบุคคล และระดับสายชั้นอยู่ในระดับมาก ผลการสะท้อนจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ปรากฏว่าครูมีการเปลี่ยนแปลงตนเองและพัฒนาการเรียนรู้  มีการออกแบบการเรียนการสอนใหม่ๆครูกระตุ้นและพัฒนาทักษะการคิดอย่างหลากหลายวางแผนการเรียนรู้และประเมินผลตามสภาพจริงครูใช้เทคโนโลยีประกอบการจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจครูมีพัฒนาการและใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเป็นตัวอย่างแก่นักเรียน  และแก้ปัญหาด้วยการวิจัยในชั้นเรียนอย่างมีขั้นตอน

Abstract

The purposes of this research were to: 1) examine the components of teacher leadership for learning management in the 21st century; 2) investigate the problems and needs for developing teacher leadership for learning management in the 21st century; 3) establish the guidelines of teacher leadership development for learning management in the 21st century; and 4) study the effects after the implementation. The target group consisted of a researcher, and 28 teachers as co-researchers. A total of 70 informants included four school administrators, 14 student representatives, and 23 parent representatives. The research methodology employed Participatory Action Research involving two spirals of four steps: diagnose, act, measure and reflect.

The findings were as follows:

1. The components of teacher leadership for learning management in the 21stcentury of Anuban Khamcha-I school included seven components and 21 indicators: 1) Transformational leadership; 2) Self and colleague development; 3) Learning management for developing thinking skills; 4) Authentic learning; 5) Using technology in  learning management; 6) Using English for communication ; and7) Conducting research to develop teaching and learning. 

2. The problems and needs for developing teacher leadership for learning management in the 21stcentury of Anuban Khamcha-I School were:

2.1 The problems concerning: 1) Teachers faced a lack of professional development for the challenges of a changing world; 2) Teachers did not engage in collaborative practices; 3) Teachers tended not to incorporate a variety of pedagogical methods for learning management; 4) Teacher-instructional methods were unlikely to promote studentsthinking skills; 5) Teachers in conducting research to solve classroom problems was limited; 6) Teachers did not integrate technology into practices ; 7) Teachers faced a lack of improving English communication skills.

2.2 The teachersneeds for developing teacher leadership were ranked in descending order as follows: 1) Transformational leadership; 2) Development for self and colleagues; 3) Learning management for developing studentsthinking skills; 4) Authentic Learning; 5) Incorporating technology for learning management; 6) Using English for communication; and 7) Conducting research for teaching and learning development.

3. The guidelines for developing teacher leadership for learning management in the 21stcentury of Anuban Khamcha-I School involved seven projects: 1) The project on transformational leadership developmentcomprising two activities;

2) The project on development of self and colleagues comprising two activities; 3)The project on learning management to improve studentsthinking skills comprising three activities; 4)The project on authentic learning comprising two activities; 5) The project on integrating technology into learning management comprising two activities; 6) The project on developing English for communication skills comprising two activities; and 7) The project on conducting research to develop learning management comprising two activities.

4. The effects after teacher leadership development on learning management in the 21st century of Anuban Khamcha-I School revealed that the teaches, both at individual level and within the class level, demonstrated their teacher leadership at a high level. The reflections from the informants reported the teachers’ improvement in terms of self-change and learning development, designing new instructional practices, encouraging and fostering students thinking skills, planning for lesson plans and authentic assessment, incorporating technology in interesting ways into the learning management, demonstrating teacher progress in English language development and using English for communication, and being good role models, and conducting classroom research to find better ways of solving problems systematically.

คำสำคัญ
การพัฒนาภาวะผู้นำครู, การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 132.91 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 360.18 KB
3 ประกาศคุณูปการ 42.83 KB
4 บทคัดย่อ 113.23 KB
5 สารบัญ 118.93 KB
6 บทที่ 1 182.67 KB
7 บทที่ 2 1,402.10 KB
8 บทที่ 3 262.76 KB
9 บทที่ 4 3,408.95 KB
10 บทที่ 5 214.49 KB
11 บรรณานุกรม 194.49 KB
12 ภาคผนวก ก 75.04 KB
13 ภาคผนวก ข 646.46 KB
14 ภาคผนวก ค 278.05 KB
15 ภาคผนวก ง 569.45 KB
16 ภาคผนวก จ 968.27 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 50.25 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
2 ธันวาคม 2560 - 16:30:58
View 4540 ครั้ง


^