ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร
The Relationship between Organizational Culture and Organizational Commitment of Personnel at Sakon Nakhon Provincial Administration Organization
ผู้จัดทำ
มนันยา แก้วมุงคุณ รหัส 58426423113 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาติชัย อุดมกิจมงคล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ  1) ศึกษาระดับวัฒนธรรมองค์การขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร 2) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร จำนวนประชากร 230 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 63.9  มีอายุระหว่าง 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 55.2 มีระดับการศึกษา ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 76.1  มีระยะ เวลาในการทำงาน 6-10 ปี คิดเป็นร้อยละ 44.8 มีตำแหน่งงานที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในปัจจุบันเป็นข้าราชการ คิดเป็นร้อยละ 60.9 และสังกัดหน่วยงานกองช่าง คิดเป็นร้อยละ 37.4 ตามลำดับ

2. วัฒนธรรมองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร  โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.23) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านวัฒนธรรมพันธกิจ  (X̅ = 4.38) รองลงมา คือ ด้านวัฒนธรรมเอกภาพ  (X̅ = 4.24)  ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ  ด้านด้านวัฒนธรรมปรับตัว (X̅ = 4.13)              

3. ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.25) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า   ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความเต็มใจที่จะใช้ความพยายามอย่างมากในการปฏิบัติงานเพื่อองค์การ (X̅ = 4.25) รองลงมา คือ  ความปรารถนาที่จะคงความเป็นสมาชิกในองค์การของตน (X̅ = 4.20) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าในการยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ (X̅ = 4.05) 

4. ผลการศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร พบว่า วัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์กับความผูกพันในองค์การ โดยรวม และรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสหประสิทธิ์สัมพันธ์ระหว่าง  0.71-0.84

Abstract

The purposes of this study were: 1) to investigate a degree of organizational culture of personnel at Sakon Nakhon Provincial Administration Organization, 2) to examine a degree of organizational commitment of personnel at Sakon Nakhon Provincial Administration Organization, 3) to inquire into the relationship between organizational culture and organizational commitment of personnel at Sakon Nakhon Provincial Administration Organization. A sample used in the study was a total of 230 personnel at Sakon Nakhon Provincial Administration Organization. The instrument used was a questionnaire. Statistics used in data analysis was percentage, mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient.

The findings were as follows:

1. Most of the respondents – 147 persons or 63.9% were female; a number of 127 respondents or 5.2% were in the 31-40 age range; 175 respondents or 76.1% graduated with a bachelor’s degree or equivalent; 103 respondents or 44.8% had work experience of 6-10 years; 140 respondents or 60.9% had a job position of government official; 86 respondents or 37.4% were affiliated with the Division of Public Works.

2. Organizational culture of personnel at Sakon Nakhon Provincial Administration Organization as a whole gained a mean score at high level (X̅= 4.23). Considering it by aspect, the aspect that gained the highest mean score was of ‘culture of mission’ (X̅= 4.38) which was at high level in organizational culture; followed by the aspect of culture of unity (X̅= 4.24) which was at high level in organizational culture. The aspect that gained the lowest mean score was of ‘culture of adaptation’ (X̅= 4.13) which was at high level in organizational culture.

3. Organizational commitment of personnel at Sakon Nakhon Provincial Administration Organization as a whole gained a mean score at high level (X̅= 4.25). Considering it by aspect, the aspect that gained the highest mean score was of ‘willingness to make great efforts in job performance for the organization’ (X̅= 4.25) which was at the highest level; followed by the aspect of desire to maintain membership in their organization (X̅= 4.20) which was at high level. The aspect that gained the lowest mean score was of ‘strong belief in accepting the goals and values of the organization’ (X̅= 4.05) which was at high level in organizational commitment.

4. Organizational culture and organizational commitment of personnel at Sakon Nakhon Provincial Administration Organization had a significant relationship to each other both as a whole and each aspect at the .01 level by having a correlation coefficient ranging from 0.71 to 0.84.

คำสำคัญ
วัฒนธรรมองค์การ, ความผูกพันต่อองค์การ
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
วันที่นำเข้าข้อมูล
15 ธันวาคม 2560 - 09:37:03
View 2237 ครั้ง


^