ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
สภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนประชารัฐ ของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร
States Problems and Guidelines for Developing Pracharath School Operational Management of Primary Schools in Sakon Nakhon Province
ผู้จัดทำ
นที อรรคสังข์ รหัส 59421229122 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา คัมภีรปกรณ์, ดร.รัชฏาพร พิมพิชัย
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนประชารัฐ ของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร โดยมีประชากรทั้งหมด 1,275 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 73 คน และครูผู้สอน จำนวน 1,202คน จากโรงเรียนทั้งหมด 76 โรงเรียน ตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วยตัวอย่างจากโรงเรียน 47 โรงเรียน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 47 คน ครูผู้สอน 282 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีt-test (Independent – Sample) และค่าเอฟ(F-test : One – Way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า        

1. สภาพการดำเนินงานโรงเรียนประชารัฐของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. ปัญหาการดำเนินงานโรงเรียนประชารัฐของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

3. ผลการเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนประชารัฐ ของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร จำแนกตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในโรงเรียนที่ดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนประชารัฐ โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

4. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนประชารัฐ ของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร จำแนกตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และตามความคิดเห็นครูผู้สอน ในโรงเรียนที่ดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนประชารัฐ โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. แนวทางการพัฒนาโรงเรียนประชารัฐ ได้มีการเสนอแนวทางพัฒนา 3 ด้าน โดยด้านที่ 1 ด้านพัฒนาคุณธรรมของผู้เรียน ได้มีการจัดอบรมเชิญวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถมาให้ความรู้กับนักเรียน ด้านที่ 2 ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนมีการจัดทำโครงการที่เป็นรูปธรรม เฝ้ากำกับ ติดตามฝึกอบรม โดยเน้นกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นกับนักเรียน และด้านที่ 3 ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในวิชาหลัก โรงเรียนสร้างแหล่งเรียนรู้ STEM ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าพร้อมสร้างบรรยากาศกระตุ้นการเรียนรู้

Abstract

The purposes of this research were to investigate, compare, and establish the guidelines for developing Pracharath School operational of Primary  Schools in Sakon Nakhon Province. The population were 73 school administrators and 1,202 teachers and the samples consisted of 47 school  administrators  and  282  teachers of 47 Pracharath Schools.

The instrument for data collection was a set of 5-level rating scale questionnaires. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, percentage, t-test (Independent Samples), F-test (One way ANOVA).

The results of this research were as follows:

1. The states of Pracharath School operational management of Primary Schools in Sakon Nakhon  Province based on administrators and teachers were at the high level in overall.

2. The problems of Pracharath School operational management of Primary  Schools in Sakon Nakhon  Province   based on administrators and teachers were at the high level in overall.

3. The states of Pracharath School operational of Primary  Schools in  Sakon Nakhon Province  based on administrators and teachers specified by status was significantly different at the .01 level in overall but specified by school size was not different.

4. The problems of Pracharath School operational of Primary  Schools in Sakon Nakhon Province  based on administrators and teachers specified by status was significantly different at the .01 level in overall but specified by school size was not different.

5. The guidelines for developing Pracharath School operational management comprised of 1) a student moral development by attending training course by expert speaker, 2) a desirable characteristics of student using school project work to enhance desirable characteristics for students and 3) a core subject teaching and learning process development by creating STEM learning resources and enhancing learning atmosphere.

คำสำคัญ
การดำเนินงานโครงการโรงเรียนประชารัฐ
Keywords
Pracharath School’s Operation
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 69.72 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 350.04 KB
3 ประกาศคุณูปการ 140.93 KB
4 บทคัดย่อ 88.37 KB
5 สารบัญ 169.57 KB
6 บทที่ 1 172.33 KB
7 บทที่ 2 695.44 KB
8 บทที่ 3 292.11 KB
9 บทที่ 4 485.08 KB
10 บทที่ 5 231.30 KB
11 บรรณานุกรม 205.41 KB
12 ภาคผนวก ก 126.16 KB
13 ภาคผนวก ข 218.20 KB
14 ภาคผนวก ค 237.77 KB
15 ภาคผนวก ง 239.35 KB
16 ภาคผนวก จ 227.82 KB
17 ภาคผนวก ฉ 170.75 KB
18 ภาคผนวก ช 120.28 KB
19 ประวัติย่อของผู้วิจัย 152.10 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
27 มีนาคม 2562 - 14:49:20
View 655 ครั้ง


^