สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการปฏิบัติ และประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติ และประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จำแนกตามขนาดโรงเรียน สหวิทยาเขต และระยะห่างจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ3) หาแนวทางในการพัฒนาเพื่อยกระดับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จำนวน 40 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเที่ยงตรงรายข้อ (IOC) อยู่ระหว่าง .80-1.00 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.980 และหาแนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยวิธีการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ F-test (One Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการปฏิบัติ และประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่า
2.1 สภาพการปฏิบัติการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่าง เมื่อจำแนกตามสหวิทยาเขต และระยะห่างจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.2 ประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่าง เมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียน สหวิทยาเขต และระยะห่างจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พบว่าไม่แตกต่างกัน
3. แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนวทางการพัฒนาแยกเป็นรายด้าน คือ ด้านคุณภาพผู้เรียน ใช้กระบวนการ PLC ผู้บริหารต้องมีเป้าหมายของการพัฒนาผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนของครูต้องมีคุณภาพ สร้างความมุ่งมั่น สร้างวุฒิภาวะให้กับนักเรียน ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาวิชาชีพครู พัฒนาความรู้ในการจัดการเรียนการสอน ต้องกำหนดเป้าหมาย วิธีการในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ผู้บริหารต้องกำกับติดตามตลอด สนับสนุนครูประเมินสมรรถนะตนเอง และทำ ID-Plan ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม นำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นเนื้อหา นักเรียนได้สร้างชิ้นงานหรือนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ในการเรียนรู้ และด้านระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติของการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 8 ขั้นตอน ให้ครบถ้วนสมบูรณ์
The purposes of this research were 1) to investigate states of practice and the effectiveness of internal quality assurance, 2) to compare states of practice and the effectiveness of internal quality assurance specified by school size, school campus and distance from the Office of Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area 23, and 3) to establish the guidelines for developing the effectiveness of internal quality assurance in schools under the Office of Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area 23.
The samples were 40 schools under the Office of Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area 23. The instrument for data collection was a set of 5-level rating scale questionnaires with a validity between .80-1.00 and a reliability of 0.980. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, percentage, t-test (Independent Samples), F-test (One way ANOVA).
The results of this research were as follows:
1. The states of practice and the effectiveness of internal quality assurance was at the high level.
2. The comparison of internal quality assurance in schools were as follows.
2.1 The states of practice internal quality assurance in schools was not different in overall. The states specified by school campus, distance from the educational office and school size were significantly different at the .01 level.
2.2 The effectiveness of internal quality assurance in schools was not different in overall. The effectiveness specified by school campus, distance from the educational office and school size were not different.
3. The guidelines for developing the effectiveness of internal quality assurance in schools by the experts indicated that 1) student quality using PLC process, administrators aim to develop student, teachers’ quality learning management, and creating intention and maturity for students 2) administrators’ management and administration were enhancing teachers to have professional development, teaching and learning development, determining goal and method to develop students, monitoring and supporting teachers to have self-assessment and ID plan 3) student center learning management creating participatory chance to students, applying local wisdom into content, students inventing creative product or innovation in learning 4) internal quality assurance system implementing 8 steps of criterions and practicing guidelines of internal quality assurance in schools.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 159.99 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 485.53 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 65.39 KB |
4 | บทคัดย่อ | 104.94 KB |
5 | สารบัญ | 235.87 KB |
6 | บทที่ 1 | 177.93 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,042.88 KB |
8 | บทที่ 3 | 317.45 KB |
9 | บทที่ 4 | 737.97 KB |
10 | บทที่ 5 | 158.91 KB |
11 | บรรณานุกรม | 168.13 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 500.20 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 198.05 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 221.22 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 215.47 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 109.34 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 191.67 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 242.10 KB |
19 | ภาคผนวก ซ | 267.92 KB |
20 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 81.85 KB |