สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมในยุคประชาคมอาเซียนโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและโยนิโสมนสิการ สำหรับนักเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 2) ศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรเสริม โดยการเปรียบเทียบคุณธรรมของนักเรียนก่อนและหลังเรียนตามหลักสูตรเสริม และเปรียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนตามหลักสูตรเสริม การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การยกร่างหลักสูตรเสริม 3) การทดลองใช้หลักสูตรเสริม และ 4) การปรับปรุงหลักสูตรเสริม กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโพนงามโคกวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 20 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดคุณธรรมด้านความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ ความมีจิตสาธารณะ และความสามัคคี และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรเสริม รูปแบบการทดลองใช้แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Dependent samples t-test และ One sample t-test
ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักสูตรเสริมที่พัฒนาขึ้น มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ ที่มาและความสำคัญ หลักการ จุดมุ่งหมาย ผลการเรียนรู้ โครงสร้างเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผล 2) ผลการทดลองใช้หลักสูตรเสริม พบว่า ความมีวินัย ความรับผิดชอบ ความมีจิตสาธารณะ และความสามัคคีของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังเรียนตามหลักสูตรเสริมสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรเสริมอยู่ในระดับมาก
The purposes of this study were: 1) to develop an enrichment curriculum to enhance morality in the ASEAN Community era through applying the contemplative and Yoniso Manasikara concepts for primary students under the Office of Sakon Nakhon Primary Education Service Area 1, 2) to investigate the results of experiment in using the enrichment curriculum, the students’ morality after learning according to the enrichment curriculum was compared to that before learning and the criterion of 70 percent of full score, and 3) to study the students’ satisfaction with learning through the enrichment curriculum. The study procedure was developed into 4 steps: 1) investigating basic information, 2) drafting the enrichment curriculum, 3) experimenting in implementation of the created curriculum, and 4) revising the enrichment curriculum. A sample of 20 fifth grade students at Phonngam Khok Withayakhan school, Office of Sakon Nakhon Primary Education Service Area 1 was assigned into a treatment group. The instruments used in study were a form for measuring morality in the aspects of discipline, responsibility, public mind and harmony, and a form for assessing students’ satisfaction with instruction using the curriculum. The type of experiment was one group pretest-posttest design. The statistics used to analyze data were mean, standard deviation, dependent samples t-test, and one sample t-test.
Findings of the study were as follows: 1) The enrichment curriculum was composed of: background and significance principles, objectives, learning outcome, content structure, learning activities, media and learning sources, and measurement and evaluation. 2) The results of implementing the enrichment curriculum showed that discipline, responsibility, public mind, and harmony of students in the treatment group after learning through the enrichment curriculum were significantly higher than those before learning at the .01 level, and were higher than the criterion of 70 percent of full score at the .01 level, and 3) The students were satisfied with instruction through the enrichment curriculum at high level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 102.48 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 237.60 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 212.50 KB |
4 | บทคัดย่อ | 100.47 KB |
5 | สารบัญ | 164.89 KB |
6 | บทที่ 1 | 223.63 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,218.82 KB |
8 | บทที่ 3 | 863.17 KB |
9 | บทที่ 4 | 1,402.83 KB |
10 | บทที่ 5 | 195.68 KB |
11 | บรรณานุกรม | 247.09 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 497.20 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 145.58 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 462.46 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 1,457.96 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 125.70 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 127.89 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 168.52 KB |
19 | ภาคผนวก ซ | 118.22 KB |
20 | ภาคผนวก ฌ | 4,816.13 KB |
21 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 79.39 KB |