สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการของครูในการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีโรงเรียนบ้านหนองแวง 2) ศึกษาและร่วมกันกำหนดแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) ศึกษาผลการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินการวิจัยที่โรงเรียนบ้านหนองแวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 1 คน ครูผู้สอน 11 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย นักเรียน 27 คนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน 22 คน และผู้แทนองค์กรชุมชน 9 คน โดยดำเนินการเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การวิเคราะห์เอกสารเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย ระยะที่ 2 การพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้หลักการวิจัยแบบมีส่วนร่วม 2 วงรอบ และระยะที่ 3 การสรุปผลการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและความต้องการในการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีโรงเรียนบ้านหนองแวง มีองค์ประกอบหลักและตัวบ่งชี้ความสำเร็จในการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาพอเพียง 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีวิธีการดำเนินการพัฒนาภาวะผู้นำครูที่หลากหลายสอดคล้องกับการพัฒนาแต่ละองค์ประกอบ ซึ่งได้มีการประชุมวางแผนการปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อมอบหมายงานและการบริหารจัดการโดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การแต่งตั้งคณะทำงานเป็น 4 คณะทำงาน ดำเนินการพัฒนา นิเทศติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย การฝึกปฏิบัติจริง การถอดบทเรียน การฝึกอบรม การประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการศึกษาดูงาน ดำเนินการดังนี้ 1) จัดให้มีการประชุมบุคลากรทั้งหมดเพื่อชี้แจงภารกิจที่ต้องดำเนินการร่วมกัน 2) ร่วมกันวิเคราะห์ภารกิจของบุคลากรตามหน้าที่ที่ระบุไว้ในคำสั่งของโรงเรียนและจัดบุคลากรให้รับผิดชอบการดำเนินงานตามภารกิจ 3) เปิดโอกาสให้บุคลากรทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการเป็นคณะทำงาน 4) ร่วมกันกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบงานในหน้าที่ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องโดยตรง 5) จัดระบบการสื่อสารภายในหน่วยงาน 6) การนิเทศ ติดตามผลการพัฒนาครู ในด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 7) ประเมินผลการปฏิบัติงาน
3. ผลการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีโรงเรียนบ้านหนองแวง พบว่า ครูมีภาวะผู้นำในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามองค์ประกอบหลักด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาพอเพียง (= 4.72) และด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (= 4.75) มีผลการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.73) และบรรลุผลสำเร็จโดยมีระดับความสำเร็จอยู่ในระดับสูง
The purposes of this research were to: 1) investigate the conditions and needs of teachers for teacher leadership development concerning instructional management based on the Principles of Sufficiency Economy Philosophy (PSEP) at Bannongwaeng School; 2) examine and establish the guidelines for developing teacher leadership concerning instructional management based on PSEP; and 3) examine the effects after teacher leadership development. The research was conducted at Bannongwaeng School under the Office of Mukdahan Primary Educational Service Area. The research group consisted of a school administrator and 11 teachers. The key informants were 27 students, seven basic education school committees, 22 parents and nine representatives from community. The research comprised three phases: Phase I- Document Analysis was related to determining the conceptual research framework; Phase II- Development of Teacher Leadership on Instructional Management Based on PSEP. The two spirals of participatory action research were utilized in this phase; and Phase III- Summary of Findings.
The research findings were as follows:
1. The main components and success indicators drawn from conditions and needs for developing teacher leadership on instructional management based on PSEP at Bannongwaeng school, involved two components: 1) Development of Sufficient School Curriculum; and 2) Instructional Management Based on PSEP. The approach employed for developing teacher leadership Based on PSEP was the participatory action research, which incoperating a variety of operational approaches in accordance with the development of each ocmponent. These would include meetings for collaborative performance planning concerning task assigment and administrative management, participation from all sectors, committee appointment for four working groups to provide continuous supervision and operational assessment.
2. The guidelines for teacher leadership development on instructional management based on PSEP consisted of actual practices in classroom setting, lesson learned, workshops, knowledge sharing, study visits. The operation process would be implemented collaboratively as follows: 1) Setting personnel meetings to share mission and operation; 2) Analyzing mission to determine the job duties for personnel as listed in official school documentation and to define personnel in charge of assigned tasks; 3) Providing opportunities for personnel from all sectors participating as working committees, 4) Identifying duties and responsibilities to all revalent personnel; 5) Managing system of internal organizational communication; 6) Providing supervision and follow up for teacher development in managing their instructions based on PSEP; and 7) Performance Evaluation.
3. The effects after developing teacher leadership on instructional management based on PSEP at Bannongwaeng School revealed that teachers had leadership qualities on instructional management based on PSEP in terms of Development of Sufficient School Curriculum (= 4.72) and Instructional Management based on PSEP (= 4.75). The implementation as a whole was at the highest level (= 4.73) with a high level of success.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 161.47 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 377.17 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 69.30 KB |
4 | บทคัดย่อ | 116.22 KB |
5 | สารบัญ | 166.24 KB |
6 | บทที่ 1 | 325.63 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,802.98 KB |
8 | บทที่ 3 | 287.75 KB |
9 | บทที่ 4 | 1,601.83 KB |
10 | บทที่ 5 | 398.86 KB |
11 | บรรณานุกรม | 310.72 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 178.59 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 964.92 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 199.75 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 920.43 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 746.73 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 494.85 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 287.26 KB |
19 | ภาคผนวก ซ | 314.36 KB |
20 | ภาคผนวก ฌ | 512.78 KB |
21 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 159.04 KB |