สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษา 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็นสองระยะ คือ ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยโดยวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และศึกษาโรงเรียนดีเด่น จำนวน 3 โรง และระยะที่ 2 การตรวจสอบสมมติฐานการวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.26 ถึง 0.93 และค่าความเชื่อมั่น 0.95 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน และครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 626 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ บรรยากาศและวัฒนธรรม โครงสร้างโรงเรียน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร วิสัยทัศน์และพันธกิจ และบุคลากรและทีมงาน
2. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติ ดังนี้ = 158.37, p-value = 0.21, df = 145, /df = 1.09, RMSEA = 0.01, GFI = 0.98, AGFI = 0.95 จากการวิเคราะห์เส้นทางเป็นดังนี้ อิทธิพลทางตรง พบว่า บุคลากรและทีมงาน มีอิทธิพลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนมากที่สุด รองลงมาคือ โครงสร้างโรงเรียน อิทธิพลทางอ้อม พบว่า บรรยากาศและวัฒนธรรม มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียน และอิทธิพลรวม พบว่า บรรยากาศและวัฒนธรรม มีอิทธิพลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนมากที่สุด รองลงมาคือ บุคลากรและทีมงาน โครงสร้างโรงเรียน และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ตามลำดับ เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ (R2) ของปัจจัยเชิงสาเหตุทั้ง 4 ปัจจัย สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษา ได้ร้อยละ 40.00
The purposes of this research were: 1) to study the causal relationship model of factors affecting professional learning community (PLC) in primary schools, 2) to examine the congruence between the causal relationship model of factors affecting PLC in primary schools and the empirical data. The research was divided into two phases: Phase I was related to defining the research conceptual framework by analyzing relevant documents and research, interviews with seven experts and a case study of three outstanding schools. Phase II was related to investigating research hypotheses. The data collection instrument was a set of 5-rating scale questionnaires with Index of Item Objective Congruence ranged from 0.60 to 1.00, the discriminative power ranged from 0.26 to 0.93, and the reliability at 0.95. The sample group of 626 was obtained through multi-stage random sampling consisting of administrators and teachers in primary schools under the Office of the Basic Education Commission in the Northeast Region in the academic year 2018. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson Product-Moment Correlation Coefficient, and testing causal relationship model.
The findings were as follows:
1. The factors affecting PLC in primary schools consisted of five factors: climate and culture, school structure, school administrators’ transformational leadership, vision and mission, and personnel and teams.
2. The developed model was consistent with the empirical data with the statistical values as follows: = 158.37, p-value = 0.21, df = 145, /df = 1.09, RMSEA = 0.01, GFI = 0.98, AGFI = 0.95. The path analysis revealed that personnel and teams had the highest direct effect on school PLC, followed by school structure. Climate and culture indirectly influenced school PLC. In terms of the total effects, climate and culture had the highest influence on school PLC, followed by personnel and team, school structure, and school administrators’ transformational leadership, respectively. When considering the prediction coefficient (R2), the four causal factors could jointly explain the variance of PLC in primary schools at 40.00 percent
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 115.41 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 171.64 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 63.66 KB |
4 | บทคัดย่อ | 242.63 KB |
5 | สารบัญ | 238.10 KB |
6 | บทที่ 1 | 608.12 KB |
7 | บทที่ 2 | 3,283.61 KB |
8 | บทที่ 3 | 678.82 KB |
9 | บทที่ 4 | 1,681.88 KB |
10 | บทที่ 5 | 899.42 KB |
11 | บรรณานุกรม | 590.78 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 1,090.08 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 307.77 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 270.14 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 320.07 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 577.34 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 106.92 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 430.29 KB |
19 | ภาคผนวก ซ | 593.76 KB |
20 | ภาคผนวก ฌ | 436.34 KB |
21 | ภาคผนวก ญ | 697.32 KB |
22 | ภาคผนวก ฎ | 330.02 KB |
23 | ภาคผนวก ฏ | 841.91 KB |
24 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 99.80 KB |